วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชี้คนไทยเข้าสู่ภาวะแก่และจน 60-70% แนะรัฐเร่งทบทวนแผนช่วยเหลือ



ชี้คนไทยเข้าสู่ภาวะแก่และจน 60-70% แนะรัฐเร่งทบทวนแผนช่วยเหลือ

ผู้สูงอายุ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          นักวิจัยชี้ อนาคตจะมีคนแก่และจน 60-70 เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำด้านฐานะ ซึ่งสวัสดิการรัฐอาจไม่เพียงพอต่อการกระจายความช่วยเหลือ ดังนั้นควรรื้อนโยบายมาทบทวนใหม่  

          เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักวิจัยของวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย ดร.ปภัศร ชัยวัฒน์ และ ดร.สวรัย บุณยมานนท์ จากคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศ”

          ซึ่งล่าสุด ทีมวิจัยเพิ่งได้รับรางวัลจากงานวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้พบข้อมูลสำคัญว่า อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ผู้สูงอายุไทยกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ กำลังจะกลายเป็นคนแก่ที่จนไปพร้อม ๆ กัน

          สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2529-2552 จำแนกประชากรออกเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ โดยมุ่งวิเคราะห์ผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เกิดภายในแต่ละกลุ่มอายุประชากร และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มอายุประชากร ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างประชากรสูงอายุด้วยกัน และปัจจัยกำหนดที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างทางรายได้

          ดร.ปภัศร กล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ประชากรในแต่ละกลุ่มอายุ มีลักษณะเฉพาะทางประชากร สังคม และเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรสูงอายุ ซึ่งพบว่า เป็นกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้หรือรายได้ต่ำ ทั้งนี้ รายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินช่วยเหลือเป็นหลัก และในขณะเดียวกันประชากรกลุ่มสูงอายุ ยังมีความแตกต่างทางรายได้ภายในกลุ่มสูงที่สุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับความเหลื่อมล้ำกันเองของกลุ่มผู้สูงอายุมีสูง เนื่องจากมีผู้สูงอายุเพียงไม่กี่คนที่ถือครองรายได้จำนวนมาก ขณะที่ผู้สูงอายุที่ทั้งแก่และจน ถึงขนาดต้องการความช่วยเหลือ จะมีจำนวนมากกว่าถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์  โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในภาคใต้ เนื่องด้วยคนแก่ในจังหวัดภูเก็ต หาดใหญ่ สงขลา จะมีฐานะร่ำรวยมาก ขณะที่คนแก่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และต้องการความช่วยเหลือ
          สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ในอนาคตวัยรุ่นไทยหรือวัยทำงานอาจรับภาระนี้ไม่ไหว เนื่องจากอัตราภาระการพึ่งพิงจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับผู้สูงอายุส่วนใหญ่อายุยืน อาจส่งผลให้ปัญหาถึงจุดอิ่มตัวในไม่ช้า ดังนั้นจึงมีการส่งสัญญาณไปยังภาครัฐว่า หากวันนี้ภาครัฐไม่หามาตรการมารองรับ ปัญหานี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

          ดร.ปภัศร กล่าวอีกว่า บทสรุปของงานวิจัยระบุถึงทางออกของปัญหา ลำดับแรก คือ คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการวางแผนชีวิตหลังเกษียนตั้งแต่เนิ่น ๆ ต้องคิดว่า ถ้าลูกไม่เลี้ยงจะทำอย่างไร ต้องมีเงินจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือนถึงอยู่ได้อย่างพอเพียงและไม่พึ่งพา

          นอกจากนี้ ยังมีกรณีของเบี้ยยังชีพคนชราที่ภาครัฐไม่สามารถกระจายเงินดังกล่าวไปยังผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามป่าเขา หรือแหล่งท้องที่กันดาร ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ อาทิ ภาษีทางตรงเพื่อดึงประโยชน์จากคนร่ำรวย มาดูแลคนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา อาทิ ผู้สูงอายุ มากขึ้น

          และทีมวิจัยยังเสนอให้ภาครัฐมีนโยบายสร้างแรงจูงใจวัยแรงงาน ให้วางแผนหลังการเกษียณอายุ รวมถึงในเรื่องการทำประกันรายได้ผู้สูงอายุ และการใช้ประโยชน์จากภาษีทางตรงให้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ในการศึกษาต่อเนื่องนั้น ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการยืดอายุระยะเกษียนออกไปให้มากกว่า 60 ปี อีกทั้งคนไทยต้องลดมายาคติที่มองว่า คนแก่ไร้ประโยชน์อย่างเร่งด่วน

          ขณะเดียวกันหากมีการขยายอายุเกษียน ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จะต้องมีการปรับตัว โดยอาจจัดสรรเวลาการทำงานและตำแหน่งงานอย่างเหมาะสม เพื่อเปิดทางให้วัยทำงานได้สร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

          ดังนั้นรัฐบาลอาจต้องนำนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุมารื้อฟื้นใหม่ว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ โดยรัฐไม่จำเป็นต้องสร้างนโยบายช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ควรดูแลอย่างทั่งถึงในกลุ่มที่มีความต้องการอย่างแท้จริง อย่างกรณีเบี้ยชราภาพ ซึ่งจากตัวเลขสถิติในปัจจุบัน ยังพบการกระจายของเงินช่วยเหลือดังกล่าวที่ไม่ทั่วถึง และไม่พอเพียงต่อการดำรงชีพ
          อีกทั้งในอนาคต สำนักงานประกันสังคมจะต้องจ่ายเบี้ยชราภาพแบบบำนาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่า จะมีผลกระทบต่อฐานะเงินกองทุนลักษณะใดในระยะยาว ซึ่งถือได้ว่า เป็นสัญญาณเตือนอันแรกที่สังคมไทยจำเป็นต้องระวังมากขึ้น

ช่างภาพ อุบล บริการ ถ่ายภาพ ใน งานแต่งงาน อุบล ตากล้อง อุบล สตูดิโอ อุบล โดย ช่างภาพ อุบล wedding prewedding pre wedding presentation cinematography cinema ช่างภาพ อุบล บริการ ถ่ายภาพ ใน งานแต่งงาน อุบล ตากล้อง อุบล สตูดิโอ อุบล โดย ช่างภาพ อุบล ขอนแก่น อำนาจ ศรีษะเกษ ยโสธร ช่างภาพงานแต่งงาน ร้านเสริมสวยร้านเช่าชุดแต่งงาน ร้านแต่งหน้า เจ้าสาว เจ้าบ่าว พิธีมงคล สมรส ความรัก งานแห่งความรัก ช่างภาพไทย ช่างภาพระดับมืออาชีพ ช่างภาพอาชีพ ช่างภาพงานแต่งงาน ของดีเมืองอุบล อับดับหนึ่งของอุบล ช่างภาพอันดับหนึ่งของอุบล ช่างภาพวันงาน ช่างภาพอิสระ รับถ่ายภาพ รับถ่ายงานแต่งงาน รับปริญญา ช่างภาพรับปริญญา ที่นี่อุบล ชมรมถ่ายภาพอุบล ชมรมถ่ายภาพจังหวัดอุบล ม.อุบล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เบ็ญจะมะมหาราช ช่างภาพอิสระอุบลราชธานี งานบวช photographer photography ubon วีดีโออุบล ช่างถ่ายวีดีโออุบล รับงานถ่ายวีดีโออุบลvdo ubon ร้านกาแฟอุบล นารีนุกูล camera กล้อง แหวนแต่งงาน แหวนหมั้น ชมรมถ่ายภาพมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีlove ubon studio เลิฟอุบลสตูดิโอ ตัวอย่างภาพงานแต่งงาน ตัวอย่างวีดีโองานแต่งงาน ความประทับใจ ช่างภาพเว็ดดิ้ง สมาคมช่างภาพ TPWPA Thailand professional wedding photographer association ช่างภาพแต่งงานไทยช่างภาพถ่ายงานแต่งทะเล ช่างภาพพรีเว็ดดิ้ง picture cinema

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น